วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การศึกษาบทคัดย่อวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับนวัตกรรม

ชื่อวิทยานิพนธ์ การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำไทย (นาม กริยา วิเศษณ์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นายอลงกรณ์ สาระบุตร ปริญญา ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (หลักสตรและการสอน)
อาจารย์ที่ปรึกษา (1) รองศาสตราจารย์ศรีสุดา จริยากูล (2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร
(3) อาจารย์ ดร.โอม ศรนิล ปีการศึกษา 2546

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง
ชนิดของคำไทย (นาม กริยา วิเศษณ์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
(2) ศึกษาความก้าวหน้าด้านการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักและการใช้ภาษาไทยที่ผลิตขึ้น และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ผู้วิจัยได้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำไทย (นาม กริยา วิเศษณ์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พร้อมทั้งได้สร้างแบบทดสอบก่อนเรียน และหลักเยนแบบคู่ขนาน ซึ่งได้ผ่านการทดสอบและพัฒนา จนมีค่าความยากเุ่มสาระกาเรียนรู้ภาษาไทยยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักและการใช้ภาษาไทยที่ผลิตขึ้น และ ๖ง่าย ค่าอำนาจำแนก และค่าความเชื่อมั่น แล้วนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นไปทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว (1:1) แบบกลุ่ม (1:10) และ (1:100) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม จำนวน 36 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง แล้วให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลักเรียน และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่า E1 E2 ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน
และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.40/ 81.66
ตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระดับ “เห็นด้วยมากที่สุด”

บรรณานุกรม
อลงกรณ์ สาระบุตร.2546. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำไทย
(นาม กริยา วิเศษณ์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม จังหวัดศรีสะเกษ

วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (หลักสตรและการสอน) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ข้อคิดเห็น 1. การนำสื่อการสอนประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไปใช้ในวิชาที่นักเรียนเข้าใจยากและไม่ค่อย
ให้ความสนใจ เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับหลักภาษาไทย จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจและมีส่วน
ร่วมในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
2. การศึกษาบทคัดย่อนี้ทำให้เข้าใจวิธีการวิจัยสื่อ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการวิจัยชั้นเรียน
ซึ่งผู้บริหารจะต้องส่งเสริมให้ครูดำเนินการในยุคปัจจุบัน

สรุปเนื้อหาการเรียนสัปดาห์ที่2 (บทที่ 3-6)

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชน จากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในรอบด้านนั้น ส่งผลให้องค์กร หรือหน่วยงานต้องมีระบบการบริหารจัดการที่รวดเร็วและทันต่อสภาพการณืดังกล่าวระบบเทคโนโลยีจึงเป็นอง์ประกอบหนึ่งที่ มีบทบาทอย่างยิ่งในการเพิ่มศักยภาพบริหารจัดการให้องค์กรนั้น จำแนกได้ดังนี้ 1. การวางแผน
2. การตัดสินใจ
3. การดำเนินการ ความสำคัญทั้ง 3 ด้านต้องอาศัยกระบวนการบริหารจัดการระบบสารสนเทศช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วจากการดำเนินการทั้ง 3 ด้านดังกล่าวสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้ ข้อมูล --> กระบวนการ --> สารสนเทศ-->การตัดสินใจ -->จุดมุ่งหมาย ขั้นตอนการตัดสินใจจะนำไปสู่กระบวนการปฏิบัติการ และผลการปฏิบัติการจะนำมาซึ่งข้อมูลที่ต้องใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา และวางแผนต่อไป ฝ่ายบริหารที่มีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจ เช่น 1. CEO (Chief Executive Officer) เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรหรือหน่วยงาน เช่น ผู้อำนวยการ 2. CIO (Chife Information Officer) เป็นผู้บริหารสูงสุดด้านสารสนเทศ เช่น หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายธุรการ 3. COO ( Chife Operating Officer) เป็นผู้บริหารระดับปฏิบัติการ เช่น งานทะเบียน งานวัดผล งานหัวหน้าชั้นเรียน 4. CKO (Chife Knowledge Officer) เป็นผู้บริหารด้านการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
ระดับของการตัดสินใจ มีดังนี้ 1. การตัดสินใจระดับสูง เป้นการตัดสินใจเชิงนโยบาย 2. การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจเพื่อปรับทิศทางให้สอกคล้องกับองค์กร 3.การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ เป็นการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเร่งด่วน ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร 1. ระบบประมวลผลรายการ(TPS) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการข้อมูล(data)รายการต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศ 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS) เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนด้านการดำเนินงาน การจัดการ และการตัดสินใจ 3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน(OIS) เป็นระบบที่ใช้บันทึกข้อมูล และการจัดารข้อมูลสำนักงาน 4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS) เป็นระบบที่ให้ผู้บริหารที่มีส่วนใการตัดสินใจได้ดำเนินการข้อมูลเพิ่มเติม และประมวลผลตามความต้องการของ องค์กรยิ่งขึ้น 5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง(ESS) เป็นระบบที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการใช้กำหนดนโยบาย และวางแผนเชิงกลยุทธ์ บทสรุป การตัดสินใจ เป้นกระบวนการขั้นสูงที่จะกำหนดทิศทาง และความก้าวหน้าขององค์กร ดังนั้นจะมีวิธีการทำอย่างไร ที่จะใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุน และใช้ประโยชน์ให้การตัดสินใจถูกต้อง และตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นถ้ามีการจัดระบบโครงสร้างสารสนเทศที่ดี เป็นระบบก็จะสามารถสนับสนุนให้การตัดสินใจตรงแนวทางยิ่งขึ้นได้
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โลกาภิวัฒน์ โลกของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน เป้นโลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ย่อทวีป ประเทศ หรือดินแดนส่วนต่างๆของโลกซึ่งห่างกันมากให้เข้ามาใกล้กันยิ่งขึ้น ดังนี้นเทคโนโลยีสารสนเทสจึงเป้นปัจจัยหนึ่งที่สามารถกำหนดทิศทางการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติในปัจจุบันได้ เช่น 1. บทบาทของการเปลี่ยนสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 2. บทบาทการเพิ่มสคุณภาพชีวิต 3. บทบาทการดำเนินชีวิตที่สพดวกรวดเร็ว 4. บทบาทด้านการงาน ธุรกิจ 5. บทบาทการเปลี่ยนแปลงสังคม และวัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแลทางสังคมในด้านบวก 1. เพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม 2. เพิ่มความสะดวก คล่องตัวในกระบวนการทำงานในทุถที่ ทุกเวลา และสถารณ์ 3. เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในด้านลบ 1. การผสมผสานของวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการดำเนินชีวิต เช่น การรับวัมนธรรมบางอย่างทางตะวันตกที่ไม่เหมาะสมกับตะวันออก 2. การเพิ่มความขัดแย้งทางสังคม ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันจากการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ดี 3. การใช้ทรัพยากรทางพลังงานธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ทรัยากรมนุษย์ต้องพัฒนาขึดความสามารถของตนเองตลอดเวลา เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 1. การวางแผนในการดำเนินการทางการเมือง เช่น จำนวนประชากรในการลงคะแนนเลือกตั้ง การกำหนดจำนวน ส.ส. 2. การดำเนินการทางเมือง เช่น การนับคะแนนผลการเลือกตั้ง 3. การบริหารจัดการทางการเมือง เช่น การกำหนดและดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ปัญญาเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดในตัวมนุษย์แต่ละคน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทอย่างมากที่ทำให้มนุษย์เกิดปัญญาโดยกระบวนการดังนี้ ข้อมูล --> สารสนเทศ --> ความรู้ --> ปัญญาความรู้(knowlage) คือ ทรัพยากรที่มีคุณค่าในตัวบุคคล แบ่งได้ดังนี้ 1. ความรู้จากสามัญสำนึก ที่ฝังในตัวของแต่ละบุคคล 2. ความรู้จากการเผยแพร่ การจัดการความรู้(KM) เป็นกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย ให้เกิดเป็นระบบเพื่อใช้ในการนำไปบริหารจัดการภายในองค์กรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างฝังมโนทัศน์จากกระบวนการอภิปรายกลุ่ม ปราชญ์ท้องถิ่น การวิจัยเชิงสำรวจ กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร อันจะนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย โดยอาศัยกระบวนการวิเคราะห์ หรือ SWOT ซึ่งแบ่งเป็น2 กลุ่มดังนี้ 1. วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร 1.1 จุดแข็ง (S) คือ ปัจจัยที่ส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
1.2 จุดอ่อน(W) คือ ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดขัดขวางการดำเนินงาน หรือเป็นข้อเสียเปรียบ 2. วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก 2.1 โอกาส(O) คือปัจจัยที่สนับสนุนแล้วก่อให่เกิดความได้เปรียบ
2.2 อุปสรรค(T) คือ ปัจจัยหรือสถานการณืภายนอกที่ขัดขวางและเป็นอุปสรรคในการ
การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆเป็นเส้นทางที่นำไปสู่การจัดทำแผนการดำเนินงานหรือแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย หรือ VMG ทำให้โอกาสความเสี่ยงต่อการล้มเหลวมีค่าน้อยลง และเพิ่มโอกาสของความสำเร็จมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน มีดังนี้ 1. เพิ่มปริมาณด้านการจัดการ เช่น การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2. การลดต้นทุนการผลิต 3. การเพิ่มผลผลิต ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ 4. การเสริมความเข้มแข็งให้องค์กรบทสรุป คุณภาพการบริหารจัดการถายในองค์สามารถดูได้จากประสิทธิภาพของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรนั้นๆว่าอยู่ในระดับใด และมีบทบาทต่อองค์กรเพียงใด เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเครื่องมือชึ้วัดความเข้มแข็งขององค์กรได้อย่างหนึ่งบทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรม (Innovation) คือ การทำสิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วในรูปแบบใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์ในสถานการณ์รูปแบบต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมทางการศึกษา(Educational Innavation) หมายถึง นวัตกรรมที่ส่งเสริม และสนับสนุน ให้การบวนการจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิ์ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน เช่น CAI E-book E-Libarry Internet เป็นต้น ประเภทของนวัตกรรม 1. นวัตกรรมด้านหลักสูตร เป็นผลงานทางวิชาการที่หน่วยงานได้จากทำขึ้นเพื่อใช้ในกระบวนการ KM เช่น หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรเฉพาะด้านเพื่อบุคคลต่างๆ 2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นวัตกรรมที่เพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนรู้ เช่น ห้องศูนย์แหลางเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โปรแกรมการประเมินผล เป็นต้น 3. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ เช่น ระบบฐานข้อมูลงานต่างๆ แนวคิดในการใช้นวัตกรรมทางการศึกษา 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่มีการเรียนรู้ได้เร็วช้าและวิธีการที่แตกต่างกัน 2. ความพร้อมของหน่วยงาน เช่น ด้านบุคลกร งบประมาณ 3. ระยะเวลาการใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเวลาในขอบเขตจำกัดได้ 4. เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการ เช่น ด้านระบบฐานข้อมูล การเรียนการสอน กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษามีดังนี้ สร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้ --> จุดประกายแนวคิด --> สร้าง -->นำไปใช้ -->ประเมินผลการใช้(เปรียบเทียบ)
บทสรุป นวัตกรรม เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความแตกต่างให้หน่วยงาน หรือองค์กร อันจะนำไปสู่จุดเด่นของการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการรูปแบบต่างๆซึ่งส่งผลสำเร็จกับเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นหน่วยงานหรืองค์กรใดมีนวัตกรรมใหม่ๆตลอดเวลาจะ เป้นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพองค์กร บุคลากร และการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดีบทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา ความสามารถในการเรียน และสวงหาความรู้ของแต่ละบุคคล เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อตอบสนองความแตกต่างดังกล่าวมากมายในปัจจุบัน ส่งผลให้เพิ่มศักยภาพในตัวบุคคลยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้ดังกล่าวจำแนกได้ดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้บนเว็บ เป็นการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก ไม่จำกัดเพียงแค่ห้องเรียน เช่น การใช้ Vdeo Confarence บทเรียนออนไลน์ หรือ E-learning ด้วยระบบต่างๆ เช่น ผ่านสายเคเบิลใยแก้วดาวเทียม IP star เป็นต้น 1.1 E-learning เป็นการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายที่ถ่ายทดสัญญาณจากแหล่งเรียนรู้ หรือใช้ CAI 1.2 Mobile - Learning เป็นการใช้เครื่องมือสื่อสารในการเผยแพร่ความรู้ 1.3 Virtual Library หรือห้องสมุดเสมือน เป็นแหล่งที่รวบรวมฐานข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หมึกทะเลตัวเป็น ๆ

หมึกทะเลตัวเป็น ๆ

ภาพประทับใจ 2

ภาพนี้ เป็นภาพเหตุการณ์ขณะที่นำนักเรียนไปศึกษาระบบนิเวศชายฝั่ง พบแมงดาทะเลกำลังคืบคลานอยู่ตามแนวหาด เป็นประสบการณ์ที่พบเป็นเป็นครั้งแรกในชีวิต ขณะอายุ 43 ปี


ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 1

จากการศึกษาเรียนรู้รายวิชา 1061601การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2552 มีเนื้อหาการเรียนรู้ที่พอสรุปได้ดังนี้1. ระบบสารสนเทศ(Information systemX หมายถึง ระบบที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรอง ประมวลผล หรือคัดเลือกเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตาม ความต่องการของผู้ใช้ หน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ2. ข้อมูล(data) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ที่สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ เช่น จำนวน ปริมาณ ระยะทาง หรืออาจเป็นตัวอักษร
ข้อความ หรืออาจเป็นภาพ เสียง ฯลฯ3. สารสนเทศ(Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล วิเคราะห์ หรือสรุป ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสัมพันธ์ของข้อมูล และสารสนเทศเป็นดังนี้
ข้อมูล(data) ---> การประมวลผล(process) ------> สารสนเทศ(Information)
คอมพิวเตอร์ นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การประมวลผล(Process) รวดเร็วแม่นยำ และประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น จึงเรียนว่า ระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์(CBIS หรือ computer-Based Information system)
3.2 ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอิเตอร์เน็ต(Internet) ต่อกระบวนการจัดการศึกษา ตอบ สิ่งที่ค้นพบบนอิเตอร์เน็ต เช่น E-mail Webbord E-leraning E-book E-training E-library Chat E-commmerse และ
Website ต่างๆของหน่วยงานสถานศึกษา สถาบัน องค์กร ร้านค้าน ในรปของ .com .go.th .org .net .ac.th เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นการส่งเสริมและให้แนวทางศึกษาได้ทั้งสิ้น ถ้ามีการประยุกต์ใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและองค์กรนั้นๆ ได้อย่างคุ้มค่า มิฉะนั้นจะเกิดการล้มทับของสารสนเทศกับตนเองจนตาย ดังนั้นการสร้างแนวทางให้เกิดความรู้ความเข้าใจของการใช้ข้อมูลต่างๆบทระบบเครือข่ายอิเนตอร์เน็ตจะช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.3 เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของการใช้โปรแแกรมประยุกต์บนอิเตอร์เน็ตเมื่อเทียบกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ตอบ ก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆของเทคโนโลยีของเราต้องรู้ศักยภาพ และประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนว่าอยู่ในระดับใด เช่น ขนาดของ RAM Haddisk ว่าอยู่ในช่วงใด หรืออินเตอร์เน็ตในระบบใด กี่เม็กซ์ ถ้ารู้และเข้าใจแล้ว ดำเนินการเช่นใดก็จะเกิดประสิทธิภาพการใช้งานคุ้มค่าที่สุด เป็นต้นว่า ถ้าตั้งระบบ software ต่างๆบนเครื่องจะได้รับความเร็วของไฟล์ ที่ใช้งานได้รวดเร็ว และปลอดภัย มากกว่าการใช้ระบบออนไลน์ แต่ถ้าระบบออนไลน์มีประสิทธิภาพก็สามารถใช้ได้ แต่ควรระวังความปลอดภัยของไวรัสคอมพิวเตอร์ จึงเพิ่มความปลอดภัยในการป้องกันให้ดียิ่งขึ้น

ภาพประทับใจ

แนะนำตนเอง




รู้จักกับ เชวง วชิรภัทรกุล
นักศึกษาปริญญาโท วิชาเอกบริหารการศึกษา ภาคพิเศษ รุ่นที่ 4
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์หัวหิน