วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปเนื้อหาการเรียนสัปดาห์ที่2 (บทที่ 3-6)

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชน จากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในรอบด้านนั้น ส่งผลให้องค์กร หรือหน่วยงานต้องมีระบบการบริหารจัดการที่รวดเร็วและทันต่อสภาพการณืดังกล่าวระบบเทคโนโลยีจึงเป็นอง์ประกอบหนึ่งที่ มีบทบาทอย่างยิ่งในการเพิ่มศักยภาพบริหารจัดการให้องค์กรนั้น จำแนกได้ดังนี้ 1. การวางแผน
2. การตัดสินใจ
3. การดำเนินการ ความสำคัญทั้ง 3 ด้านต้องอาศัยกระบวนการบริหารจัดการระบบสารสนเทศช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วจากการดำเนินการทั้ง 3 ด้านดังกล่าวสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้ ข้อมูล --> กระบวนการ --> สารสนเทศ-->การตัดสินใจ -->จุดมุ่งหมาย ขั้นตอนการตัดสินใจจะนำไปสู่กระบวนการปฏิบัติการ และผลการปฏิบัติการจะนำมาซึ่งข้อมูลที่ต้องใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา และวางแผนต่อไป ฝ่ายบริหารที่มีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจ เช่น 1. CEO (Chief Executive Officer) เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรหรือหน่วยงาน เช่น ผู้อำนวยการ 2. CIO (Chife Information Officer) เป็นผู้บริหารสูงสุดด้านสารสนเทศ เช่น หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายธุรการ 3. COO ( Chife Operating Officer) เป็นผู้บริหารระดับปฏิบัติการ เช่น งานทะเบียน งานวัดผล งานหัวหน้าชั้นเรียน 4. CKO (Chife Knowledge Officer) เป็นผู้บริหารด้านการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
ระดับของการตัดสินใจ มีดังนี้ 1. การตัดสินใจระดับสูง เป้นการตัดสินใจเชิงนโยบาย 2. การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจเพื่อปรับทิศทางให้สอกคล้องกับองค์กร 3.การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ เป็นการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเร่งด่วน ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร 1. ระบบประมวลผลรายการ(TPS) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการข้อมูล(data)รายการต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศ 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS) เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนด้านการดำเนินงาน การจัดการ และการตัดสินใจ 3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน(OIS) เป็นระบบที่ใช้บันทึกข้อมูล และการจัดารข้อมูลสำนักงาน 4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS) เป็นระบบที่ให้ผู้บริหารที่มีส่วนใการตัดสินใจได้ดำเนินการข้อมูลเพิ่มเติม และประมวลผลตามความต้องการของ องค์กรยิ่งขึ้น 5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง(ESS) เป็นระบบที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการใช้กำหนดนโยบาย และวางแผนเชิงกลยุทธ์ บทสรุป การตัดสินใจ เป้นกระบวนการขั้นสูงที่จะกำหนดทิศทาง และความก้าวหน้าขององค์กร ดังนั้นจะมีวิธีการทำอย่างไร ที่จะใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุน และใช้ประโยชน์ให้การตัดสินใจถูกต้อง และตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นถ้ามีการจัดระบบโครงสร้างสารสนเทศที่ดี เป็นระบบก็จะสามารถสนับสนุนให้การตัดสินใจตรงแนวทางยิ่งขึ้นได้
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โลกาภิวัฒน์ โลกของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน เป้นโลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ย่อทวีป ประเทศ หรือดินแดนส่วนต่างๆของโลกซึ่งห่างกันมากให้เข้ามาใกล้กันยิ่งขึ้น ดังนี้นเทคโนโลยีสารสนเทสจึงเป้นปัจจัยหนึ่งที่สามารถกำหนดทิศทางการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติในปัจจุบันได้ เช่น 1. บทบาทของการเปลี่ยนสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 2. บทบาทการเพิ่มสคุณภาพชีวิต 3. บทบาทการดำเนินชีวิตที่สพดวกรวดเร็ว 4. บทบาทด้านการงาน ธุรกิจ 5. บทบาทการเปลี่ยนแปลงสังคม และวัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแลทางสังคมในด้านบวก 1. เพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม 2. เพิ่มความสะดวก คล่องตัวในกระบวนการทำงานในทุถที่ ทุกเวลา และสถารณ์ 3. เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในด้านลบ 1. การผสมผสานของวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการดำเนินชีวิต เช่น การรับวัมนธรรมบางอย่างทางตะวันตกที่ไม่เหมาะสมกับตะวันออก 2. การเพิ่มความขัดแย้งทางสังคม ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันจากการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ดี 3. การใช้ทรัพยากรทางพลังงานธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ทรัยากรมนุษย์ต้องพัฒนาขึดความสามารถของตนเองตลอดเวลา เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 1. การวางแผนในการดำเนินการทางการเมือง เช่น จำนวนประชากรในการลงคะแนนเลือกตั้ง การกำหนดจำนวน ส.ส. 2. การดำเนินการทางเมือง เช่น การนับคะแนนผลการเลือกตั้ง 3. การบริหารจัดการทางการเมือง เช่น การกำหนดและดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ปัญญาเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดในตัวมนุษย์แต่ละคน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทอย่างมากที่ทำให้มนุษย์เกิดปัญญาโดยกระบวนการดังนี้ ข้อมูล --> สารสนเทศ --> ความรู้ --> ปัญญาความรู้(knowlage) คือ ทรัพยากรที่มีคุณค่าในตัวบุคคล แบ่งได้ดังนี้ 1. ความรู้จากสามัญสำนึก ที่ฝังในตัวของแต่ละบุคคล 2. ความรู้จากการเผยแพร่ การจัดการความรู้(KM) เป็นกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย ให้เกิดเป็นระบบเพื่อใช้ในการนำไปบริหารจัดการภายในองค์กรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างฝังมโนทัศน์จากกระบวนการอภิปรายกลุ่ม ปราชญ์ท้องถิ่น การวิจัยเชิงสำรวจ กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร อันจะนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย โดยอาศัยกระบวนการวิเคราะห์ หรือ SWOT ซึ่งแบ่งเป็น2 กลุ่มดังนี้ 1. วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร 1.1 จุดแข็ง (S) คือ ปัจจัยที่ส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
1.2 จุดอ่อน(W) คือ ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดขัดขวางการดำเนินงาน หรือเป็นข้อเสียเปรียบ 2. วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก 2.1 โอกาส(O) คือปัจจัยที่สนับสนุนแล้วก่อให่เกิดความได้เปรียบ
2.2 อุปสรรค(T) คือ ปัจจัยหรือสถานการณืภายนอกที่ขัดขวางและเป็นอุปสรรคในการ
การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆเป็นเส้นทางที่นำไปสู่การจัดทำแผนการดำเนินงานหรือแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย หรือ VMG ทำให้โอกาสความเสี่ยงต่อการล้มเหลวมีค่าน้อยลง และเพิ่มโอกาสของความสำเร็จมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน มีดังนี้ 1. เพิ่มปริมาณด้านการจัดการ เช่น การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2. การลดต้นทุนการผลิต 3. การเพิ่มผลผลิต ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ 4. การเสริมความเข้มแข็งให้องค์กรบทสรุป คุณภาพการบริหารจัดการถายในองค์สามารถดูได้จากประสิทธิภาพของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรนั้นๆว่าอยู่ในระดับใด และมีบทบาทต่อองค์กรเพียงใด เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเครื่องมือชึ้วัดความเข้มแข็งขององค์กรได้อย่างหนึ่งบทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรม (Innovation) คือ การทำสิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วในรูปแบบใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์ในสถานการณ์รูปแบบต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมทางการศึกษา(Educational Innavation) หมายถึง นวัตกรรมที่ส่งเสริม และสนับสนุน ให้การบวนการจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิ์ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน เช่น CAI E-book E-Libarry Internet เป็นต้น ประเภทของนวัตกรรม 1. นวัตกรรมด้านหลักสูตร เป็นผลงานทางวิชาการที่หน่วยงานได้จากทำขึ้นเพื่อใช้ในกระบวนการ KM เช่น หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรเฉพาะด้านเพื่อบุคคลต่างๆ 2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นวัตกรรมที่เพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนรู้ เช่น ห้องศูนย์แหลางเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โปรแกรมการประเมินผล เป็นต้น 3. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ เช่น ระบบฐานข้อมูลงานต่างๆ แนวคิดในการใช้นวัตกรรมทางการศึกษา 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่มีการเรียนรู้ได้เร็วช้าและวิธีการที่แตกต่างกัน 2. ความพร้อมของหน่วยงาน เช่น ด้านบุคลกร งบประมาณ 3. ระยะเวลาการใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเวลาในขอบเขตจำกัดได้ 4. เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการ เช่น ด้านระบบฐานข้อมูล การเรียนการสอน กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษามีดังนี้ สร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้ --> จุดประกายแนวคิด --> สร้าง -->นำไปใช้ -->ประเมินผลการใช้(เปรียบเทียบ)
บทสรุป นวัตกรรม เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความแตกต่างให้หน่วยงาน หรือองค์กร อันจะนำไปสู่จุดเด่นของการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการรูปแบบต่างๆซึ่งส่งผลสำเร็จกับเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นหน่วยงานหรืองค์กรใดมีนวัตกรรมใหม่ๆตลอดเวลาจะ เป้นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพองค์กร บุคลากร และการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดีบทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา ความสามารถในการเรียน และสวงหาความรู้ของแต่ละบุคคล เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อตอบสนองความแตกต่างดังกล่าวมากมายในปัจจุบัน ส่งผลให้เพิ่มศักยภาพในตัวบุคคลยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้ดังกล่าวจำแนกได้ดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้บนเว็บ เป็นการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก ไม่จำกัดเพียงแค่ห้องเรียน เช่น การใช้ Vdeo Confarence บทเรียนออนไลน์ หรือ E-learning ด้วยระบบต่างๆ เช่น ผ่านสายเคเบิลใยแก้วดาวเทียม IP star เป็นต้น 1.1 E-learning เป็นการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายที่ถ่ายทดสัญญาณจากแหล่งเรียนรู้ หรือใช้ CAI 1.2 Mobile - Learning เป็นการใช้เครื่องมือสื่อสารในการเผยแพร่ความรู้ 1.3 Virtual Library หรือห้องสมุดเสมือน เป็นแหล่งที่รวบรวมฐานข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น